เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Main




"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"

เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น
วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา

เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต

การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)

สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล

สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ

- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย


ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 2 Quarter 2 ปีการศึกษา 2559
Week
Input
Process
Output
Outcome












1
โจทย์
ทบทวนการวัด (ความยาว พื้นที่ ปริมาตรและน้ำหนัก  เวลา)

คำถาม

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Share and learn
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนนับ
- ครูอ่านประโยคต่อไปนี้ให้นักเรียนฟัง
เช่น 
การสื่อความหมายเกี่ยวกับระยะทาง
- บ้านกำนันอยู่ห่างจากบ้านของเราประมาณสองคุ้งน้ำ
- ที่นาของป้าจันทร์อยู่ห่างจากที่นี่ชั่วเวลาเคี้ยวหมากจืดสนิทพอดี
- วัดอยู่ไม่ไกลหรอก แค่เดินไปชั่วหม้อข้าวเดือดเท่านั้น
- หมู่บ้านนาโต่งอยู่ไกลจากที่นี่เท่ากับเสียงช้างร้อง
การสื่อความหมายเกี่ยวกับเวลา
- ให้ออกจากบ้านก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
- ตื่นนอนตอนไก่ขัน
- กลับเถอะ นกบินกลับรังแล้ว
การสื่อความหมายเกี่ยวกับปริมาณอื่น ๆ
- มีทองเท่าหนวดกุ้ง
- หุงข้าวสักสองกำมือ
- ใช้เกลือสักหยิบมือหนึ่ง
- หัวใจเท่ากำปั้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าแต่ละประโยคสื่อความหมายการวัดรูปแบบใด ?”
- ครูแบ่งกลุ่มพี่ๆ ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
ครูแจก บัตรคำ ดังนี้  เสาธง   สนามบาส ลูกบาสเกตบอล  ระยะทางจากก้อนหินถึงบ้านม.1 น้ำในคูเลอร์
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนสามารถวัด ความยาว พื้นที่ ปริมาตรและน้ำหนัก  ร่วมถึง เวลา  ของสิ่งต่างๆได้อย่างไร?”และมีวิธีการวัดอย่างไร ?
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกิจกรรม วัดอย่างไรให้ได้ค่า
- ครูและนักเรียนนำเสนอผลการวัดค่าต่างๆและอภิปรายร่วมกัน
ภาระงาน
- ร่วมกิจกรรม วัดอย่างไรให้ได้ค่า
- นำเสนอผลการวัดค่าต่างๆและอภิปรายร่วมกัน

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
ความรู้
 - เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ช่วงเวลาและเหตุการณ์ต่างๆได้จากความเข้าใจเดิมของตนเอง
- เข้าใจและสามารถออกแบบกระบวนการวัดสิ่งต่างๆ ด้วยความเข้าใจเดิมของตนเองได้อย่างสมเหตุสมผล  

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชี้วัด :  ค ๒.๑  เปรียบเทียบหน่วยความยาว  หน่วยพื้นที่ในระบบเดียวกันและต่างระบบ และเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัด ม.2/1
                               ค ๒.๑  คาดคะเนเวลา ระยะทางพื้นที่  ปริมาตรและน้ำหนักได้ อย่างใกล้เคียง อธิบายวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน ตัวชี้วัด ม.2/2
                               ค ๒.๑  ใช้การ คาดคะเน เกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม    ตัวชี้วัด ม.2/3
                               ค ๒.๒  ใช้ความรู้เกี่ยวกั[ความยาว และพื้นที่แก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ   ตัวชี้วัด ม.2/1

    2
โจทย์
การวัด  : ความยาว พื้นที่

คำถาม
คุณครูมีที่ดินอยู่ 4 แปลง
แต่ละแปลงมีรูปร่างดังรูป    จงหาพื้นที่จากที่ดิน ที่กำหนด
ให้มีหน่วยเป็นเมตร?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Share and learn
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนนับ
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  คุณครูมีที่ดินอยู่ 4 แปลง
แต่ละแปลงมีรูปร่างดังรูป    จงหาพื้นที่จากที่ดิน ที่กำหนด
ให้มีหน่วยเป็นเมตร?”
 


- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์ หาพื้นที่ต่างๆ และสรุปลงในกระดาษ A4
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน

ภาระงาน
- วิเคราะห์และหาพื้นที่จากสถานการณ์จำลอง


ชิ้นงาน
- A4 วิเคราะห์ พื้นที่จากโจทย์สถานการณ์
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
ความรู้
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและพื้นที่ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชี้วัด :  ค ๒.๑  เปรียบเทียบหน่วยความยาว  หน่วยพื้นที่ในระบบเดียวกันและต่างระบบ และเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัด ม.2/1
                               ค ๒.๑  คาดคะเนเวลา ระยะทางพื้นที่  ปริมาตรและน้ำหนักได้ อย่างใกล้เคียง อธิบายวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน ตัวชี้วัด ม.2/2
                               ค ๒.๑  ใช้การ คาดคะเน เกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม    ตัวชี้วัด ม.2/3
                               ค ๒.๒  ใช้ความรู้เกี่ยวกั[ความยาว และพื้นที่แก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ   ตัวชี้วัด ม.2/1
3
โจทย์
การวัด  : ความยาว พื้นที่

คำถาม
- นักเรียนมีวิธีการหาพื้นที่ต่างๆที่เลือกไว้ อย่างไร?
- ในการเขียนแผนที่พื้นที่ต่างๆ นักเรียนมีกระบวนการวิเคราะห์มาตราส่วนอย่างไร ?
- เมื่อเปรียบเทียบค่าการวัดพื้นที่จริงกับค่าที่ได้จาก Google Earth Application

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Share and learn
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนนับ
- ครูเปิดแผนที่ โรงเรียนจาก Google earth ให้นักเรียนดู
และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับรูปร่างพื้นที่และขนาดพื้นที่ต่างๆ
 



- นักเรียนวาดแผนที่จำลอง ย่อมาตราส่วน ของสถานที่โดยรอบภายในโรงเรียน เช่น อาคารประถม  อาคารมัธยม  บริเวณฟาร์มสัตว์เลี้ยง พื้นที่แปลงนา ฯลฯ
- นักเรียนหาพื้นที่บริเวณที่วาดจากแผนที่
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ภาระงาน
- วาดแผนที่จำลอง ย่อมาตราส่วน ของสถานที่โดยรอบภายในโรงเรียน เช่น อาคารประถม  อาคารมัธยม  บริเวณฟาร์มสัตว์เลี้ยง พื้นที่แปลงนา ฯลฯ ลงในกระดาษ A4
- วัดพื้นที่ในโรงเรียนและวัดโดยการใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ มาตรฐาน พร้อมสรุปข้อมูล ลงในสมุด
- วัดพื้นที่ในโรงเรียนและวัดโดยการใช้เครื่องมือวัดที่ได้ มาตรฐาน (ตลับเมตร) พร้อมสรุปข้อมูล ลงในสมุด
- วิเคราะห์และอภิปรายร่วมกัน

ชิ้นงาน
- แผนที่โรงเรียน และสถานที่จ่างๆในโรงเรียน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
ความรู้
- เข้าใจและสามารถออกแบบ เก็บข้อมมูลจริงและนำความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและพื้นที่ในหาพื้นที่จริงได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น


คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชี้วัด :  ค ๒.๑  เปรียบเทียบหน่วยความยาว  หน่วยพื้นที่ในระบบเดียวกันและต่างระบบ และเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัด ม.2/1
                               ค ๒.๑  คาดคะเนเวลา ระยะทางพื้นที่  ปริมาตรและน้ำหนักได้ อย่างใกล้เคียง อธิบายวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน ตัวชี้วัด ม.2/2
                               ค ๒.๑  ใช้การ คาดคะเน เกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม    ตัวชี้วัด ม.2/3
                               ค ๒.๒  ใช้ความรู้เกี่ยวกั[ความยาว และพื้นที่แก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ   ตัวชี้วัด ม.2/1
4
โจทย์
การวัด  : ปริมาตรและน้ำหนัก

คำถาม
- นักเรียนคิดว่า ผลไม้แต่ละชนิด มีน้ำหนักเท่าใด?”
- นักเรียนคิดว่าสิ่งของแต่ละชนิด มีน้ำหนักและปริมาตรเท่าใด?
- จากการคาดคะเนและหาค่าจริงที่ได้ มีความคลาดเคลื่อนเท่าใด?”
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Share and learn
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนนับ
- ครูติดบทความสถานการณ์จำลอง บนบอร์ด ดังนี้
 




พี่ดิวนัดหมายกับเพื่อน ๆ ในกลุ่มเดียวกัน 6 คน
ไปเที่ยวต่างจังหวัด  เพื่อนชาย 3 คน  มีน้ำหนักเฉลี่ย
คนละ 65 กิโลกรัม  เพื่อนหญิงอีก 3 คน  มีน้ำหนัก
เฉลี่ยคนละ 47 กิโลกรัม  พี่ดิวหนัก 85 กิโลกรัม
ถ้ารถยนต์รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 450 กิโลกรัม  
กลุ่มของพี่ดิวจะไปเที่ยวรถคันเดียวกันได้หรือไม่
เพราะเหตุใด  และถ้าหากจะต้องเดินทางไปพี่ดิวจะวางแผนอย่างไร ?”
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และนำเสนอความคิดเห็นของตนเอง
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- ครูและนักเรียน ร่วมกิจกรรม คาดคะเนน้ำหนักผลไม้
- ครูนำผลไม้ ประกอบด้วย ฝรั่ง แตงโม มะม่วง และส้มเขียวหวาน มาให้นักเรียนดู และสลับกันถือ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่า ผลไม้แต่ละชนิด มีน้ำหนักเท่าใด?”







- นักเรียนคาดคะเนน้ำหนักและบันทึกผลลงในตาราง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด จากการคาดคะเนและนำผลไม้แต่ละชนิดไปชั่งน้ำหนักจริง  มีความคลาดเคลื่อนเท่าใด?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- ครูและนักเรียน ร่วมกิจกรรม คาดคะเนน้ำหนักและปริมาตร
- ครูนำสิ่งของ ประกอบด้วย กล่องบรรจุนม (พร้อมดื่ม)  
กล่องกระดาษทิชชู   กล่องใส่ดินสอ    กล่องขนมปังกรอบ
 มาให้นักเรียนดู และสลับกันถือ
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าสิ่งของแต่ละชนิด มีน้ำหนักและปริมาตรเท่าใด?”
- นักเรียนคาดคะเนน้ำหนักและปริมาตรพร้อมบันทึกผลลงในตาราง



- นักเรียนนำสิ่งของแต่ละชนิดไปชั่งน้ำหนักและหาปริมาตร พร้อมบันทึกผลลงในตาราง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  จากการคาดคะเนและหาค่าจริงที่ได้ มีความคลาดเคลื่อนเท่าใด?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ภาระงาน
- วิเคราะห์โจทย์สถานการณ์เกี่ยวกับการเดินทางของพี่ดิว
- ร่วมกิจกรรม คาดคะเนน้ำหนักผลไม้และกิจกรรม คาดคะเนน้ำหนักผลไม้
- วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันเกี่ยวกับน้ำหนักและปริมาตรของสิ่งที่ทดลอง

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ตารางวิเคราะห์ผลการวัดน้ำหนักและปริมาตร
ความรู้
- เข้าใจและสามารถคาดคะเนขนาด  ปริมาตรและน้ำหนักของสิ่งที่กำหนดให้ได้อย่างใกล้เคียง


ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชี้วัด :  ค ๒.๑  เปรียบเทียบหน่วยความยาว  หน่วยพื้นที่ในระบบเดียวกันและต่างระบบ และเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัด ม.2/1
                               ค ๒.๑  คาดคะเนเวลา ระยะทางพื้นที่  ปริมาตรและน้ำหนักได้ อย่างใกล้เคียง อธิบายวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน ตัวชี้วัด ม.2/2
                               ค ๒.๑  ใช้การ คาดคะเน เกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม    ตัวชี้วัด ม.2/3
                               ค ๒.๒  ใช้ความรู้เกี่ยวกั[ความยาว และพื้นที่แก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ   ตัวชี้วัด ม.2/1
5
โจทย์
การวัด  : ปริมาตรและน้ำหนัก
คำถาม
นักเรียนคิดว่าวัตถุดิบในการทำอาหารต่างๆมีปริมาตและน้ำหนักเท่าใด?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Share and learn
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนนับ
- ครูจับไม้ไอศครีมแบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 4 คน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบเมนูอาหารที่ต้องการ
แต่ละกลุ่มนำเสนอเมนูอาหารพร้อมวัตถุดิบในการปรุง (โดยระบุปริมาตรต่างๆโดยละเอียด)



 
- เตรียมวัตถุดิบ /ลงมือปรุงอาหาร
- นำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
- ครูแจกใบงานและให้นักเรียนวิเคราะห์โจทย์ปัญาต่างๆ และนำมาอภิปรายร่วมกัน
ภาระงาน
- ออกแบบเมนูอาหารที่ต้องการ
แต่ละกลุ่มนำเสนอเมนูอาหารพร้อมวัตถุดิบในการปรุง (โดยระบุปริมาตรต่างๆโดยละเอียด)
- นำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
- วิเคราะห์ใบงานและให้นักเรียนวิเคราะห์โจทย์ปัญาต่างๆ และนำมาอภิปรายร่วมกัน

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
- อาหาร
ความรู้
- เข้าใจและสามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาตรและน้ำหนัก มาประประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
- เข้าใจและสามารถวิเคราะห์และแก้ไขโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและน้ำหนักได้อย่างสมเหตุสมผล


ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

มาตรฐานตัวชี้วัด :  ค ๒.๑  เปรียบเทียบหน่วยความยาว  หน่วยพื้นที่ในระบบเดียวกันและต่างระบบ และเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัด ม.2/1
                               ค ๒.๑  คาดคะเนเวลา ระยะทางพื้นที่  ปริมาตรและน้ำหนักได้ อย่างใกล้เคียง อธิบายวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน ตัวชี้วัด ม.2/2
                               ค ๒.๑  ใช้การ คาดคะเน เกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม    ตัวชี้วัด ม.2/3
                               ค ๒.๒  ใช้ความรู้เกี่ยวกั[ความยาว และพื้นที่แก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ   ตัวชี้วัด ม.2/1
6-7
โจทย์
การวัด  : เวลา

คำถาม

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Share and learn
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนนับ
- ครูให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์สถานการ
 ดังนี


การแข่งขันจักรยานวิบากเสือภูเขา เส้นทางรอบเขาใหญ่ ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ นครนายก นครราชสีมา
สิ้นสุดการเดินทางที่กรุงเทพฯ พี่สตางค์ใช้เวลาในการปั่น 58.45 ชั่วโมง อยากทราบว่า การปั่นจักรยานในครั้งนี้ ถ้าพี่สตางค์ออกเดินทางวันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 06.00น. เขาจะกลับมาที่จุดสิ้นสุดการแข่งขันวันและเวลาเท่าใด
- นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์สถานการ
 ดังนี

พี่ไอดินได้มีโอกาสไปร่วมทำกิจกรรมที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเธอต้องออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังประเทศญี่ปุ่น
โดยใช้เครื่องบิน ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง 20 นาที ถ้าเครื่องบินออกจากกรุงเทพฯวันที่  22 กรกฏาคม เวลา 23.10 น. พี่ไอดินจะถึงญี่ปุ่นวันที่เท่าไรและประมาณเวลาตามเวลาท้องถิ่นของประเทศญีปุ่น
(กำหนดเวลาท้องถิ่นของญี่ปุ่นเร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง)
- นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
ภาระงาน
- วิเคราะห์โจทย์สถานการณ์และอภิปรายร่วมกัน

ชิ้นงาน
สมุดบันทึกเล่มเล็ก
ความรู้
เข้าใจและสามารถคาดเดาเวลาของเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเหตุการณ์ที่มีช่วงเวลาสืบเนื่องจากอดีตมายังปัจจุบันและอนาคต ได้  

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชี้วัด :  ค ๒.๑  เปรียบเทียบหน่วยความยาว  หน่วยพื้นที่ในระบบเดียวกันและต่างระบบ และเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัด ม.2/1
                               ค ๒.๑  คาดคะเนเวลา ระยะทางพื้นที่  ปริมาตรและน้ำหนักได้ อย่างใกล้เคียง อธิบายวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน ตัวชี้วัด ม.2/2
                               ค ๒.๑  ใช้การ คาดคะเน เกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม    ตัวชี้วัด ม.2/3
                               ค ๒.๒  ใช้ความรู้เกี่ยวกั[ความยาว และพื้นที่แก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ   ตัวชี้วัด ม.2/1
8
โจทย์
การนำเสนอข้อมูล
คำถาม
นักเรียนคิดว่าการนำเสนอข้อมูลของแผนภูมิและกราฟแต่ละชนิดมีจุด เด่นและจุดด้อยเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
-  Share and learn
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตารางจำนวนนับ
- ครูให้นักเรียนวิเคราะห์การนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิและกราฟต่างๆ ดังรูป






- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าการนำเสนอข้อมูลของแผนภูมิและกราฟแต่ละชนิดมีจุด เด่นและจุดด้อยเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
- นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลจากโจทย์



- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าการนำเสนอข้อมูลของแผนภูมิและกราฟแต่ละชนิดมีจุด เด่นและจุดด้อยเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม สืบค้นข้อมูลการนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟและแผนภูมิประเภทต่างๆ  เช่น กราฟจุด  กราฟเส้น  แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม ฯลฯ
- นำเสนอ
- นักเรียนจับฉลากเลือกห้อข้อในการเก็บข้อมูลและเลือกนำเสนอข้อมูลโดยใช้กราฟ ประเภทต่างๆ


 
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
วิเคราะห์ข้อมูลจากใบงาน



ภาระงาน
- สืบค้นข้อมูล  วิเคราะห์ และนำเสนอการนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิและกราฟต่างๆ
- เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- กราฟและแผนภูมิ
ความรู้
เข้าใจกระบวนการนำเสนอข้อมูลและเลือกใช้แผนภูมิและกราฟต่างๆเพื่อนำเสนอได้อย่างเหมาะสมได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชี้วัด :  ค ๕.๑  สามารถอ่านและนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิรูปวงกลม ตัวชี้วัด ม.2/1
                               ค ๕.๒   อธิบายได้ว่าเหตุการณ์ที่กำหนดให้ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นแน่นอน เหตุการณ์ใดไม่เกิดขึ้นแน่นอน และเหตุการณ์ใดมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่ากัน ตัวชี้วัด ม.2/1

9
โจทย์
สรุปการเรียนรู้หลังเรียน

คำถาม
- สำหรับ Quarter นี้ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
- นักเรียนคิดว่าจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียรู้ได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- Mind Mapping
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A4
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  สำหรับ Quarter นี้ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?และ นักเรียนคิดว่าจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียรู้ได้อย่างไร?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ Mind Mapping พร้อมทั้งประเมินตนเอง ในสิ่งที่ทำได้ดีแล้ว และสิ่งที่จะพัฒนาต่อไป

ภาระงาน
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter นี้
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียนในรูปแบบ Mind Mapping
ชิ้นงาน
Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ความรู้
 เข้าใจและสามารถอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

ทักษะ
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐานตัวชีวัด:   ค ๖.๑  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล   การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ตัวชี้วัด ม.1/1 – ม.1/6